วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 2

Learning  ( เนื้อหาที่เรียน )

1.ทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ
2.พัฒนาการศิลปะ
3.พัฒนาการด้านร่างกาย
4.ทำกิจกรรมมือน้อยสร้างสรรค์  
  


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) 
1.ทฤษฎีพัฒนาการ ของ Lowenfeld
1.2.ทฤษฎีเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ 
   1.2.1ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
        -เน้นความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการมีเหตุผล
        -มองความสามารถเป็น 3 มิติ คือ เนื้อหา, วิธีคิด และ ผลของความคิด
*ทำให้ทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง 120 ตามโครงสร้างทางปัญญา 3 มิติรวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย คือ วิธีการคิดแบบเอกนัย เป็นการคิดหลายทิศทาง

   1.2.2ทฤษฎีความรู้สมองสองลัีกษณะ (สมองสองซีก)
        -กำลังได้รับความสนใจ เป็นการทำงานของสมอง
        -ซีกซ้าย คิดเหตุผล ควบคุมสั่งการร่างกายด้านขวา
        -ซีกขาว ความคิดสร้างสรรค์ ควบคุมสั่งการร่างกายด้านซ้าย
*แพทย์หญิง กมลวรรณ ชีวะพันธุ์ กล่าวว่า สมองซีกขวาเป็นส่วนของจินตนาการ ความคิดสรา้งสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากช่วงอายุ 4-7 ปี ส่วนซีกซ้าย เป็นส่วนการคิดเหตุผลจะพัฒนาในช่วงอายุ 9-12 ปีและสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่ช่วงอายุ 14-13ปี

   1.2.3ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของ ทอร์เเรนซ์ (Torrance)
        -แบ่งความคิดสร้างสรรค์เป็น 5 ขั้น ได้แก่ 1.ขั้นค้นพบความจริง 2.ขั้นค้นพบปัญหา
3.ขั้นการตั้งสมมติฐาน 4.ขั้นค้นพบคำตอบ 5.ขั้นยอมรับผลของคำตอบ
*ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกที่ไวต่อปัญหา และเกืดความพยายามในการสร้างความคิด ตั้งสมมติฐาน

   1.2.4ทฤษฎีพุปัญญา การ์ดเนอร์ (Gardner)
        -แบ่งเป็น 9 ด้าน  ได้แก่
              1. ความฉลาดทางด้านภาษา (Linguistic intelligence) 
             2. ความฉลาดทางด้านตรรกะ (Logical-mathematic intelligence)  
              3. ความฉลาดทางด้านดนตรี (Musical intelligence)
              4. ความฉลาดทางด้านมิติ (Spatial intelligence) 
              5. ความฉลาดทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily-kinesthetic intelligence) 
              6. ความฉลาดในการเป็นผู้นำ (Interpersonal intelligence)
              7. ความฉลาดภายในตน (Intrapersonal intelligence)
              8. ความฉลาดทางด้านธรรมชาติ (Naturalist intelligence)  
              9. ความฉลาดในการคิดใคร่ครวญ (Existential intelligence)
 *ในทุกๆด้านเรามีเท่ากันหมดแต่จะมีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการพัฒนาและการส่งเสริม
    
      1.2.5ทฤษฎีโอตา (Auta)
        -แบ่งเป็น 4 ขั้น

2.พัฒนาการศิลปะ
   วงจรการขีดๆ เขียนๆ 
-เคลลอก (kelloge) แบ่งเป็น 4 ขั้น 1.ขีดเขี่ย ช่วง 2 ขวบ
                                                       2.เขียนเป็นรูปรา่ง ช่วง 3 ขวบ วาดวงกลมได้
                                                       3.รู้จักออกแบบ ช่วง 4 ขวบ วาดรูปสี่เหลี่ยมได้
                                                       4.การวาดเเสดงความเห็นกับภาพได้ ช่วง 5 ขวบ วาด 3เหลี่ยมได้
3.พัฒนาการด้านร่างกาย
 กีเซลล์และคอร์บิน สรุป พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวตามลักษณะพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก-มัดใหญ่ ดังนี้
 -การตัด  อายุ 3-4 ปี ตัดเป็นชิ้นส่วนได้
                       4-5 ปี ตัดเป็นเส้นตรงได้
                       5-6 ปี ตัดตามเส้นโค้ง, รูปทรงต่างๆ
-การขีดเขียน อายุ 3-4 วาด วงกลมได้
                              4-5 วาดสี่เหลี่ยมได้
                              5-6 วาดสามเหลี่ยมได้
-การพับ  อายุ 3-4 พับเเละรีดสันกระดาษ 2 ทบตามแบบ
                      4-5 พับและรีดสันกระดาษ 3 ทบตามเเบบ
                      5-6 พับเเละรีดสันกระดาษได้คล่อง หลายแบบ
-การวาด  อายุ  3-4 วาดคน มีหัว ตา ปาก ขา
                        4-5 วาดคนมี หัว ตา ปาก ขา จมูกลำตัว เท้า
                        5-6 วาดรายละเอียดเยอะขึ้น

Skills ( ทักษะที่ได้ )

-ทักษศิลปะ การวาดรูป ระบายสี 
-ทักษะจินตนาการ

Teaching Techniques ( เทคนิคการสอน )
-power point
-สื่อการเรียนการสอน แบบวาดรูป
  

Applications in Life ( การนำไปประยุกต์ใช้ )

 สามารถนำทฤษฎีไปปรับใช้และเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ให้ตรงและเหมาะสมพัฒนาการเเละการเรียนรู้ของเด็กเกี่ยวกับศิลปะสร้างสรรค์ 

Evaluation ( การประเมิน )

Teacher      แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลาใช้เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนที่ดี มีการใช้สื่อที่เหมาะสม
students     แต่งกายสุภาพ ตั้งใจเรียน
classroom  สะอาด เเละเอื้ออำนวยต่อการทำกิจจกรรม

บันทึกครั้งที่ 1

Learning  ( เนื้อหาที่เรียน )

1.ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องศิลป์สำหรับเด็ก
2.วาดรูปตัวเองในจินตนาการ


    
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) 

ความหมายศิลปะคือ งานฝีมือที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างขึ้น  มี 3ประเภท ได้แก่ จิตกรรม ปติมากรรม และ สถาปัตยกรรม มนุษย์สร้างศิลปะขึ้นเพื่อให้เกิดความสวยงาม ความพึงพอใจ 

ความสำคัญของศิลปะ
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ (2543 : 37 - 39) กล่าวว่า ความสำคัญของศิลปะมีผลต่อการดำรงชีวิต ชีวิตของมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังนี้
1. ศิลปะเพื่อการผ่อนคลาย โดยการระบายความรู้สึกนึกคิด หรือความคับข้องใจออกมา ความรู้สึกสามารถระบายออกได้ โดยผ่านสื่อทางศิลปะอย่างอิสระ
2. ศิลปะเพื่อการพัฒนาจิตใจ คนที่มีสุขภาพจิตดีคือคนที่ทำงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความชื่นชมยินดีในงานที่ทำมีความเอื้อเฟื้อเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
3. ศิลปะเพื่อพัฒนาสังคม ศิลปะเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้สัมพันธภาพของคนในสังคมดำเนินไปอย่างสงบสุข
4. ศิลปะเพื่อการบำบัด การบำบัดด้วยศิลปะ (Art Therapy) หมายถึงการใช้กิจกรรมศิลปะ หรือผลงานศิลปะ เพื่อวิจัยหาข้อบกพร่องของบุคคลที่กลไกการทำงานของร่างกายหย่อนสมรรถภาพซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิตและเพื่อใช้กิจกรรมศิลปะที่เหมาะสมช่วยในการรักษาให้มีสภาพดีขึ้น

จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะ
     เพื่อความสมดุลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม สามารถพัฒนาตนเอง และร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ และฝึกผลนิสัยรักการทำงานด้านศิลปะอย่างประณีต มีวินัยรู้จักการรับผิดชอบ เป็นผู้มีจินตนาการทางด้านศิลปะ และการพัฒนาเจตคติ ฝึกฝนสมาธิ ฝึกทักษะกระบวนการ วิธีการแสดงออกอย่างเหมาะสม การสร้างสรรค์งานศิลปะ 

บทบาทของครู
1.จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ให้พร้อม
2.กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมปลายเปิดเช่นระบายสีด้วยสีเทียนและสีโปสเตอร์ตามอิสระเพื่อที่นักเรียนจะได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ด้วยตนเอง มีอิสระในการสร้างสรรค์
3.กิจกรรมที่จัดควรมีความเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ(Developmental Appropriate)ในการจัดกิจกรรมคุณครูควรคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียนกิจกรรมศิลปะควรมีความเหมาะสมต่อความสามารถของเด็กในวัยนั้น ๆ
4.คุณครูควรเน้นที่กระบวนการมากกว่าผลงานระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรมศิลปะ(Processnot  product)
5.สนทนากับนักเรียน เรื่องการดูแลรักษา การใช้อุปกรณ์ และกติกาในการปฏิบัติกิจกรรม
6.ให้นักเรียนมีส่วนร่วม(Students’Involvement)นักเรียนควรมีส่วนร่วมในการจัดเตรียมและทำความสะอาด เช่น ช่วยหยิบและเก็บกระดาษ และตะกร้าใส่ดินสอสี 


Skills ( ทักษะที่ได้ )

-วาดรูป
-จินตนาการ

Teaching Techniques ( เทคนิคการสอน )

-แบบทดสอบก่อนเรียน
-แบบวาดรูป
-Powerpoint

Applications in Life ( การนำไปประยุกต์ใช้ )

      ปรับใช้ในบทหน้าที่ของครูที่จะต้องเตรียมตัวจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้อง และต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการสอนศิลปะให้กับเด็ก   

Evaluation ( การประเมิน )

Teacher      แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา ใช้แบบสื่อที่เหมาะสม
students     แต่งกายสุภาพ ตั้งใจเรียน
classroom  สะอาด เเละเอื้ออำนวยต่อการทำกิจจกรรม